อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
ข้อมูลพื้นฐาน

ส่วนที่ ๑
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลตำบลสะบ้าย้อย

                   เทศบาลตำบลสะบ้าย้อยเดิมเป็นสุขาภิบาลสะบ้าย้อย จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ โดยประกาศในพระราชกิจนุเบกษา หน้า ๗๗ เล่มที่ ๗๓ ตอนที่ ๙๙  ลงวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พศ. ๒๙ ต่อมาได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๐ และประกาศในพระราชกิจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๖ ตอนที่ ๙ ก ลงวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๒

๑. ด้านกายภาพ
      ๑.๑ ที่ตั้งของเทศบาลตำบลสะบ้าย้อย
สำนักงานเทศบาลตำบลสะบ้าย้อย ตั้งอยู่ ณ อาคารที่ว่าการอำเภอสะบ้าย้อย (เดิม) ถนนชาญนุเคราะห์ ตำบลสะบ้าย้อย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสขลา อยู่ห่างจากอำเภอเมืองไปทางทิศใต้ ตามเส้นทางรถยนต์ บนทางหลวงหมายเลข ๔๐๘ หมายเลข ๔๒ และทางหลวงจังหวัด หมายเลข ๔๐๘๕ เป็นระยะทางทั้งหมด ๑๑  กิโลเมตรหรืออาจใช้เส้นทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๔๐๘๖ และ ๔๐๘๕ เป็นระยะทางทั้งหมด ๑๐ กิโลเมตร มีพื้นที่ครอคลุมพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ ๑ ตำบลสะบ้าย้อย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา โดยมีพื้นที่ทั้งหมด ๐.๕๗๖ ตารางกิโลมตร หรือ ๓๖๐ ไร่

อาณาเขต

ทิศเหนือ        จดที่สงวนเลี้ยงสัตว์ หมู่ที่ ๓ ตำบลสะบ้าย้อย
ทิศใต้             จดคลองลำทับ หมู่ที่ ๑ ตำบลสะบ้าย้อย
ทิศตะวันออก  จดบึงแม่สะบ้าย้อย หมู่ที่ ๑ ตำบลสะบ้าย้อย
ทิศตะวันตก     จดสะพานลูกเสือ หมู่ที่ ๑ ตำบลสะบ้าย้อย

โดยมีเขตตามพระราชกฤษฎีกาการเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา พ.ศ. ๒๔๙๙ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พศ. ๒๔๙๙ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ ๗๓ ตอนที่ ๙๙ ง ลงวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙ ดังนี้

      ด้านเหนือ ตั้งแต่หลักเขตที่ ๑ ซึ่งตั้งอยู่ที่ฟากตะวันตกของทางหลวงสายสะบ้าย้อย-เทพา ตรงฝั่งใต้ของคลองลำแยง
      จากเขตหลักที่ ๑ ซึ่งตั้งอยู่ที่ฟากตะวันตกของทางหลวงสายสะบ้าย้อย - คูหา-บ้านโหนด ไปทางทิศตะวันออก เป็นระยะ ๒,๐๐๐ เมตร ซึ่งเป็นหลักเขตที่ ๒
      ด้านตะวันออก จากหลักเขตที่ ๒ เป็นเส้นตรงไปทางทิศใต้ถึงปากคลองลำทับฝั่งใต้ตรงที่บรรจบกับฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเทพา ซึ่งเป็นหลักเขตที่ ๓
      ด้านใต้ จากหลักเขตที่ ๓ เลียบตามฝั่งใต้ของคลองลำทับไปทางทิศตะวันตก เป็นระยะ ๑,๙๐๐ เมตร ซึ่งเป็นหลักเขตที่ ๔
      ด้านตะวันตก จากหลักเขตที่ ๔  เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือจนบรรจบกับหลักเขตที่ ๑

๑.๒ ลักษณะภูมิประเทศ
         พื้นที่ของเทศบาลตำบลสะบ้าย้อยเป็นพื้นที่ราบ มีความลาดเอียงลงสู่บึงแม่สะบ้าย้อย
๑.๓ ลักษณะภูมิอากาศ
        มีลักษณะอากาศไม่ร้อนจัดและไม่เย็นจัด เนื่องจากได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงหนือ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนมกราคม ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือ กุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม
๑.๔ ลักษณะของดิน
        เป็นดินเหนียวผสมดินร่วนเหมาะแก่การทำการเกษตรกรรม
๒. ด้านการเมือง/การปกครอง
๒.๑ เขตการปกครอง
       เทศบาลตำบลสะบ้าย้อยมีเขตการปกครอง แบ่งเป็น ๓ ชุมชน ดังนี้
       - ชุมชนมิตรภาพ
       - ชุมชนตลาดบน
       - ชุมชนเมืองแม่สะบ้าย้อย