อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
บทบาทหน้าที่

อํานาจหน้าที่ตามกฎหมายของเทศบาลตําบล

อํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496  (และที่แก้ไขเพิ่มเติม  (ฉบับที่ 12)  พ.ศ. 2546)  และ พระราชบัญญัติกําหนดและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  พ.ศ. 2542 ดังนี้

  1. อํานาจหน้าที่ตามมาตรา  50  แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496  และที่แก้ไขเพิ่มเติม  (ฉบับที่ 12)  พ.ศ. 2546  ได้กําหนด  อํานาจหน้าที่ที่เทศบาลตําบลต้องทํา   ได้แก่
      1. รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
      2. ให้มีและบํารุงทางบกและทาง
      3. รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกําจัด  มูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
      4. ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
      5. ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
      6. ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
      7. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
      8. บํารุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของทั้งถิ่น
      9. หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
  2. อํานาจหน้าที่ตามมาตรา  51  แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496  และที่แก้ไขเพิ่มเติม  (ฉบับที่ 12)  พ.ศ. 2546  ได้กําหนด  อํานาจหน้าที่ที่เทศบาลตําบลอาจจัดกิจกรรมใดๆ  ในเขต เทศบาล    ได้แก่
      1. ให้มีน้ําสะอาดหรือการประปา
      2. ให้มีโรงฆ่าสัตว์
      3. ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
      4. ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
      5. บํารุงและส่งเสริมการทํามาหากินของราษฎร
      6. ให้มีและบํารุงสถานที่ทําการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
      7. ให้มีและบํารุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
      8. ให้มีและบํารุงทางระบายน้ํา
      9. เทศพาณิชย์
  3.  อํานาจหน้าที่ตาม มาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496  และที่แก้ไขเพิ่มเติม  (ฉบับที่ 12)  พ.ศ. 2546  ได้กําหนด  เ เทศบาลอาจมีรายได้ ดังต่อไปนี้ 

     (๑) ภาษีอากรตามแต่จะมีกฎหมายก าหนดไว้

     (๒) ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับ ตามแต่จะมีกฎหมายก าหนดไว้

    (๓) รายได้จากทรัพย์สินของเทศบาล

    (๔) รายได้จากการสาธารณูปโภคและเทศพาณิชย์

    (๕) พันธบัตร หรือเงินกู้ ตามแต่จะมีกฎหมายก าหนดไว้

    (๖) เงินกู้จากกระทรวง ทบวง กรม องค์การ หรือนิติบุคคลต่าง ๆ  การกู้เงินเทศบาลจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสภาเทศบาล และได้รับ อนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการระทรวงมหาดไทยแล้ว

    (๗) เงินอุดหนุนจากรัฐบาลหรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด

    (๘) เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นที่มีผู้อุทิศให้

    (๙) รายได้อื่นใดตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้

     

    อํานาจหน้าที่ตาม มาตรา ๖๗  แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496  และที่แก้ไขเพิ่มเติม  (ฉบับที่ 12)  พ.ศ. 2546  ได้กําหนด  เทศบาลอาจมีรายจ่าย ดังต่อไปนี้

    (๑) เงินเดือน

    (๒) ค่าจ้าง

     (๓) เงินตอบแทนอื่น ๆ

    (๔) ค่าใช้สอย

     (๕) ค่าวัสดุ

     (๖) ค่าครุภัณฑ์

    (๗) ค่าที่ดิน สิ่งก่อสร้าง และทรัพย์สินอื่น ๆ

    (๘) เงินอุดหนุน

    (๙)รายจ่ายอื่นใดตามข้อผูกพันหรือตามที่มีกฎหมายหรือระเบียบของกระทรวงมหาดไทย ก าหนดไว้

  4. อํานาจหน้าที่ตาม มาตรา ๖๗ ทวิ  

    การจ่ายเงินตามมาตรา ๖๗ (๘) และการจ่ายเงินเพื่อการลงทุน เทศบาลจะกระทำได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากสภาเทศบาลและผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติแล้ว

  5. อํานาจหน้าที่ตาม มาตรา ๖๗ ตรี100

    การจ่ายเงินตามมาตรา ๖๗ (๙) ถ้าเป็นการชำระเงินกู้เมื่อถึงกำหนด ชำระเทศบาลจะต้องช าระเงินกู้นั้นจากทรัพย์สินของเทศบาลไม่ว่าจะตั้งงบประมาณรายจ่ายประเภทนี้ไว้ หรือไม่

  6. อํานาจหน้าที่ตาม มาตรา ๖๘ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496  และที่แก้ไขเพิ่มเติม  (ฉบับที่ 12)  พ.ศ. 2546  ได้กําหนด  การจ่ายเงินค่าตอบแทนแก่

     

    1.ประธานสภาเทศบาล

    2.รองประธานสภาเทศบาล

    3.สมาชิกสภาเทศบาล

    4.และการจ่ายเงินค่าเบี้ยประชุมให้แก่กรรมการที่สภาเทศบาลแต่งตั้งขึ้น ให้ เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด

  7. และหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กร-ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542  มาตรา 16 ให้เทศบาลเมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตําบลมีอํานาจ และหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้
    1. การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
    2. การจัดให้มีและบํารุงรักษาทางบก ทางน้ําและทางระบายน้ํา
    3. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
    4. การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่น ๆ
    5. การสาธารณูปการ
    6. การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
    7. การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
    8. การส่งเสริมการท่องเที่ยว
    9. การจัดการศึกษา
    10. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และ ผู้ด้อยโอกาส
    11. การบํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันของท้องถิ่น
    12. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
    13. การจัดให้มีและบํารุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
    14. การส่งเสริมกีฬา
    15. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
    16. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
    17. การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
    18. การกําจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ําเสีย
    19. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
    20. การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
    21. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
    22. การจัดให้มีและควบคุมการเลี้ยงสัตว์
    23. การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย  โรงมหรสพ และสาธารณอื่น ๆ
    24. การจัดการ การบํารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
    25. การผังเมือง
    26. การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
    27. การดูแลรักษาที่สาธารณะ
    28. การควบคุมอาคาร
    29. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
    30. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความ ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
    31. กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศ กําหนด

บทบาทหน้าที่ของส่วนราชการ

สำนักปลัด มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับราชการทั่วไปของเทศบาล และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นส่วนราชการใด ในเทศบาลโดยเฉพาะ รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการให้เป็นไปตามนโยบายแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการเทศบาล ประกอบด้วย
•  งานบริหารทั่วไป
•  งานการเจ้าหน้าที่
•  งานวิเคราะห์นโยบาลและแผน
•  งานทะเบียนราษฎร
•  งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

1.กองคลัง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานการรับ การจ่าย การนำส่งเงิน การเก็บรักษาเงิน และเอกสารตรวจสอบใบสำคัญ ฏีกา งานเกี่ยวกับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน เงินบำเหน็จ บำนาญ การจัดทำงบแสดงฐานะทางการเงิน การจัดสรรเงินต่าง ๆ การจัดทำบัญชีทุกประเภท ทะเบียนรายจ่ายต่าง ๆ การควบคุมการเบิกจ่าย การทำงบทดลองประจำเดือน ประจำปี ประกอบด้วย
•  งานธุรการ
•  งานพัสดุและทรัพย์สิน
•  งานการเงินและบัญชี
•  งานจัดเก็บรายได้
•  งานผลประโยชน์และกิจการพาณิชย์
•  งานแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน

2. กองช่าง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการสำรวจ ออกแบบ จัดทำข้อมูลทางวิศวกรรม งานออกแบบและเขียนแบบ การตรวจสอบการก่อสร้าง งานควบคุมอาคาร งานแผนการปฏิบัติงานก่อสร้างและซ่อมบำรุง ประกอบด้วย
•  งานธุรการ
•  งานผังเมือง
•  งานสาธารณูปโภค
•  งานสวนสาธารณะ
•  งานจัดสถานที่และไฟฟ้าสาธารณะ

3. กองสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับสาธารณสุขชุมชน ส่งเสริมสุขภาพและอนามัย การป้องกันและทำความสะอาด งานอื่น ๆ เกี่ยวกับการให้บริการด้านสาธารณสุขและงานอื่น ๆ ดังนี้
•  งานธุรการ
•  งานรักษาความสะอาด
•  งานส่งเสริมสุขภาพ
•  งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ

4. กองการศึกษา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารการศึกษาและพัฒนาการศึกษา งานกิจการศาสนา ส่งเสริมประเพณี ศิลปวัฒนธรรม งานกีฬาและนันทนาการ และงานอื่น ๆ ดังนี้
•  งานธุรการ
•  งานโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
•  งานกิจกรรมเด็กและเยาวชน การกีฬาและนันทนาการ
•  งานกิจกรรมศาสนา ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม

5. กองการประปา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านสาธารณูปโภค บริการน้ำประปา
•  งานธุรการ
•  งานซ่อมบำรุงประปา
•  งานจัดเก็บค่าบริการน้ำประปา